หน่วยที่ 6


หน่วยที่ 6นวัตกรรมการศึกษา
(Innovation in Education)

      การศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาที่พัฒนาการตามยุค IT นวัตกรรมจึงถูกนำมาใช้กับการศึกษาที่เรียกว่า"นวัตกรรมการศึกษา"(Innovation Education)

      "นวัตกรรม" หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆมาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพของงานหรือของสิ่งที่ได้กระทำให้ดียิ่งขึ้น "นวัตกรรมการศึกษา" เป็นการนำแนวคิด วิธีการการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา มีระบบที่ดีขึ้น มีคุณภาพ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น

บทบาทของนวัตกรรมเพื่อการศึกษา
      การศึกษาในปัจจุบันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่การศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นที่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนทุกสถานที่ที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต "นวัตกรรม"จึงมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มากยิ่งขึ้น

      ลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ได้คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สิ่งที่เคยนำมาใช้แล้วและปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น หรือสิ่งที่คิดเพิ่มเติมจากเดิม การนำวิธีการใหม่ๆที่ดีกว่ามาปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมๆ การคิดค้นระบบหรือการจัดการวิธีการ การวิจัยหรืออื่นๆ แล้วนำมาเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น
      คอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย
      คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
      บทเรียนแบบโปรแกรม
      ชุดการสอน

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้

      สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้นั้นบางท่านคิดถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่านั้น แต่มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอนได้แก่
      ครูผู้สอน
      ผู้เรียน
      หลักสูตรเนื้อหา
      ทักษะกระบวนการต่างๆ
      สื่ออุปกรณ์

นวัตกรรมแนววิธีสอน
      นวัตกรรมวิธีสอนเป็นแนวจัดการสอนที่จะนำมาใช้สอนเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ แนววิธีการสอนและเทคนิคต่างๆเพื่อนำมาใช้สอนที่เหมาะสมกับวิชาที่สอน มีเทคนิควิธีการ ต่างๆ คือ

1. เทคนิค Jigsaw เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนนักเรียนได้ทั้งเล็กและโต เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ

       1.ครูแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนเท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มของนักเรียน
       2.จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4-5 คน
       3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการศึกษาหัวข้อย่อยๆของเนื้อหา
      4.ให้นักเรียนที่ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกันมารวมกันเป็นกลุ่มใหม่เพื่อร่วมอภิปราย ซักถามให้มีความรู้ความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
       5.ให้นักเรียนกลุ่มใหม่แยกย้ายกลับไปกลุ่มเดิมของตน แล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้รับให้เพื่อนในกลุมฟัง
       6.นักเรียนในกลุ่มทำแบบทดสอบย่อยเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ นำคะแนนของสมาชิกกลุ่มแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม

2. เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions) เป็นเทคนิคการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ใช้กับนักเรียนที่เป็นเด็กเล็กและโตได้

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

       1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      2.แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
      3.แบ่งหน้าที่ในกลุ่ม ศึกษาและทำกิจกรรมในใบงาน
      4.นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ
      5.นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำคะแนนการพัฒนา

3. เทคนิค TGT (Team Games Tournament) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กับการเรียนการสอนที่ต้องการให้นักเรียนได้สนุกสนานและกระบวนการกลุ่ม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
      3.นักเรียนเตรียมความพร้อมให้สมาชิกกลุ่ม โดยการซักซ้อมความรู้ความเข้าใจ ซักถามปัญหาที่ตั้งขึ้นเอง
      4.จัดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยส่งชื่อผู้เข้าแข่งขัน
      5.ประกาศผลการแข่งขัน ชมเชยนักเรียนที่ชนะ

4. เทคนิค GI (Group Inverstigation) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต สามารถใช้สอนในวิชาหลักได้ทุกวิชา

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ให้มีความสามารถเท่ากัน
      3.แบ่งเรี่องที่ศึกษาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ แบ่งเป็นใบงานที่ ที่ ที่ ฯลฯ
      4.นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมในใบงาน
      5.แต่ละกลุ่มนำเสนอรายงานหน้าชั้น

5. เทคนิค NHT (Numbered Heads TogetHer) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กับการสอนวิชาหลัก และกิจกรรมพัฒนาตนเองได้ สามารถใช้สอนได้กับเด็กเล็กและเด็กโต

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
      3.ครูแจกใบงาน
      4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มซักซ้อม ทบทวนปัญหาจนสมาชิกในกลุ่มเข้าใจคำตอบ
      5.ครูถามคำถามนักเรียนในกลุ่มโดยเรียกนักเรียนคนใดคนหนึ่งตอบคำถาม
      6.ชมเชยนักเรียนกลุ่มที่มีสมาชิกตอบได้มากที่สุด

6. เทคนิค Buzzing เป็นเทคนิคการสอนที่ใช้กลุ่มย่อย เป็นการสอนโดยการระดมความคิดของทุกคนในกลุ่ม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 6-8 คน
      2.ครูแจกใบความรู้
      3.นักเรียนช่วยกันระดมความคิด สมาชิกร่วมกันอภิปราย
      4.ให้นักเรียนสรุปความคิดที่เป็นเอกฉันท์

7. เทคนิค UCEFAS (Uitimate Current Effect Facto Aiternative Soulution) เป็นเทคนิคการสอนแบบการคิดแก้ปัญหา สามารถใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กเล้กก็ให้ปัญหาที่ไม่ซับซ้อนเกินไปโดยให้นักเรียนหาปัญหาทั่วๆไปที่พบเห็นอยู่เสมอ

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-8 คน
      2.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
      3.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดสภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น
      4.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดอภิปรายถึงสภาพปัจจุบันของปัญหา
      5.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์ผลกระทบจากปัญหา
      6.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
      7.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์คิดหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
      8.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา เพื่อร่วมกันคัดเลือกหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

8. เทคนิค หมวก ใบ เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถามเป็นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดสำหรับนักเรียนทุกระดับ

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.แบ่งกลุมนักเรียนให้คิด ดังนี้
      กลุมที่ ตั้งคำถามให้คิด (สีขาว)
      กลุ่มที่ ถามความรู้สึก (สีแดง)
      กลุ่มที่ ตรวจสอบหาผลกระทบ (สีดำ)
      กลุ่มที่ หาข้อดี (สีเหลือง)
      กลุ่มที่ หาทางเลือกในการพัฒนา (สีเขียว)
      กลุ่มที่ โครงสร้างกระบวนการคิด
      3.กลุ่มสรุปแผนการดำเนินโครงการ

9. เทคนิค Storyline Method เป็นเทคนิคการสอนแบบบูรณาการ ใช้สอนได้กับนักเรียนทุกระดับชั้น เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนากระบวนการกลุ่ม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.ครูวิเคราะห์เนื้อหาที่เรียน
      2.แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
      3.จัดกิจกรรมตามเนื้อเรื่องที่กำหนดเป็นตอนๆ โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
      4.กำหนดฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต และเหตุการณ์

10. "ชิงร้อย ชิงล้าน" เป็นเทคนิคการสอนแบบการเล่นเกม ใช้สอนในวิชาหลักได้และใช้สอนเด็กได้ทุกระดับ

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.แจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      3.แต่ละกลุ่มตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านกลุ่มละ 10 คำถาม เป็นลักษณะ
คำถาม "จริงหรือไม่"
      4.นักเรียนคัดเลือกพิธีกรชาย คน หญิง คน
      5.พิธีกรคัดเลือกคำถามจากกลุ่มต่างๆ ประมาณ 10-15 คำถาม
      6.พิธีกรเริ่มรายการ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบ
      7.ถ้ากลุ่มใดตอบผิด ให้กลุ่มตอบถูกเป็นผู้เฉลย
      8.แต่ละกลุ่มช่วยบันทึกคะแนนที่ได้

11. "แชมเปี้ยนเกม" เป็นเทคนิคการสอนแบบเล่นเกม เป็นวิธีการสอนให้เกิดความรู้และความสนุกสนานในการเล่นเกม ใช้จัดสอนได้ทุกระดับชั้น

มีข้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.แจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      3.นักเรียนตั้งคำถามกลุ่มละ 10 คำถาม
      4.ให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาตอบคำถาม กลุ่มละ คน
      5.ให้นักเรียนเลือกพิธีกร คน คัดเลือกคำถาม 10 ข้อ
ย่อหน้า6.แบ่งกลุ่มการแข่งขันออกเป็น กลุ่ม
      7.นักเรียนเลือกบุคคลที่จะตอบคำถาม ถ้าตอบถูกได้เป็นคะแนนกลุ่ม
      8.เปลี่ยนกลุ่มถามคำถาม เลือกบุคคลที่ตอบคำถามโดยไม่ซำกัน
      9.ผู้ใดตอบถูกจะได้เป็นคะแนนเก็บเป็นคะแนนสะสมของกลุ่ม

12. "เกมจราชน" เป็นเทคนิคการสอนแบบเล่นเกม ใช้สอนเด็กได้ทุกระดับชั้น สอนให้นักเรียนได้คิดหาคำหรือข้อความที่มีความหมายต่อจากคำที่นักเรียนใบ้ ให้ได้คำตอบ

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.แต่ละกลุ่มให้ส่งตัวแทนออกมาใบ้คำ พูดได้ครั้งละ คำ มีโอกาส ครั้ง โดยกำหนดไม่ให้พูดคำในเฉลย
      3.ครูแจกบัตรคำให้ทีละกลุ่มใบ้คำ
      4.กลุ่มใดตอบได้เก็บเป็นคะแนนกลุ่ม

13. 4 ต่อ 4 Family Game เป็นเทคนิคการสอนแบบการเล่นเกม ใช้สอนวิชาหลักได้ และเป็นการเล่นเกมเหมาะกับนักเรียนทุกระดับ

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น กลุ่ม
      2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา โดยซักซ้อมผู้ที่ออกมาติบคำถามกลุ่มละ คน
      3.ส่งตัวแทนกลุ่มละ คน แยกเป็น ทีม ทีมละ คน
      4.ครูถามปัญหา
      5.นักเรียนตอบปัญหาทีละคน ถ้าคนใดตอบผิดจะเปลี่ยนทีมตอบ และคะแนนจะตกเป็นของฝ่ายตรงข้าม

14. "เธอถามฉัน ฉันถามเธอ" เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถาม ใช้สอนนักเรียนได้ทุกวิชา และใช้ได้กับเด็กเล็กและโต เป็นการพัฒนากระบวนการจดจำจากเรื่องที่ได้เรียนหรือประสบการณ์เดิม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา
      3.แต่ละกลุ่มให้ร่วมกันเขียนคำถาม เพื่อวัดความรู้กลุ่มละ 15 คำถาม
      4.แต่ละกลุ่มนำคำถามของกลุ่มไปให้กลุ่มอื่นหาคำตอบ โดยกำหนดระยะเวลาที่จำกัด
      5.แต่ละกลุ่มหาคำตอบจากคำถามของกลุ่มอื่น

15. บทเรียนหน้าเดียว เป็นเทคนิคการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นกระบวนการกลุ่ม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา และทำบทเรียนหน้าเดียว แบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้
      2.1 ภาพนำเข้าสู่บทเรียน
      2.2 เนื้อหา
      2.3 แบบทดสอบ
      3.ให้แต่ละกลุ่มนำบทเรียนหน้าเดียวไปใด้เพื่อนแต่ละกลุ่มศึกษา
      4.ให้แต่ละกลุ่มค้นหาคำตอบของคำถาม และตรวจสอบความถูกต้องตามเฉลย
      5.ครูทดสอบความรู้

16. เทคนิคการสำรวจความรู้สึก เป็นเทคนิคการสอนแบบพัฒนากระบวนการคิด สามารถใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต สามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวินิจฉัยหรือคิดวิเคราะห์

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.ครูนำเสนอสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง
      3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระบุ ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์
      4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวินิจฉัย เกี่ยวกับความรู้สึกของแต่ละบุคคลในเหตุการณ์ และให้เหตุผลถึงพฤติกรรมนั้นๆ
      5.ให้นักเรียนแต่ละคนบรรยายประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์
      6.ให้นักเรียนแต่ละคนเปรียบเทียบความรู้สึกของตนเองกับบุคคลในเหตุการณ์ 
นวัตกรรมการเรียนการสอน
หมายถึง 
การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วยทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)   มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpanedt01.htm)  ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น            จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
ศึกษา” ความหมายของนวัตกรรม          นวัตกรรม”  หมายถึงความคิด
วิเคราะห์และสังเคราะห์ความหมายของ “นวัตกรรมทางการศึกษา” 
นวัตกรรมเป็นการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักเกี่ยวของในเรื่องของการแก้ปัญหาปรับปรุงการเรียนการสอนของครู ดังนั้นจุดเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงอยู่ที่การศึกษาสภาพปัญหา การคิดค้นหรืออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับปัญหา การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมให้สมบูรณ์ตามแนวหรือกรอบของแบบนวัตกรรมที่กำหนด การทดลองวิจัยและพัฒนาเพื่อให้นวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุดการเผยแพร่ไปสู่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายและกว้างขวางนวัตกรรมจะมีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนหรือปรับปรุงเพื่อให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นความหมาย  “นวัตกรรมทางการศึกษาการนำความรู้ใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ให้ดีกว่าของเก่าไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเรียนการสอนหรือการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพหรือศักยภาพในการพัฒนามากยิ่งขึ้นช่วยใหเกิดผลดีไปสู่จุดหมายทีได้กำหนดไว้
เหตุผลที่ใหความหมายดังกล่าวเพราะนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทนในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม















ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

             
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet]เหล่านี้ เป็นต้น

             
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น 
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

             ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4ประการ คือ
             1. 
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

             - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น 
(Non-Graded School)
             - แบบเรียนสำเร็จรูป 
(Programmed Text Book)
             - เครื่องสอน 
(Teaching Machine)
             - การสอนเป็นคณะ 
(TeamTeaching)
             - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน 
(School within School)
             - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
(Computer Assisted Instruction)

             2.
 ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
             - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
             - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
             - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

             3. 
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

             - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
             - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
             - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
             - การเรียนทางไปรษณีย์

             4. 
ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

             - มหาวิทยาลัยเปิด
             - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
             - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
             - ชุดการเรียน
อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://ceit.sut.ac.th
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)

             
นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน

             ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา
อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://ceit.sut.ac.th
นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

E-learning

             ความหมาย  
e-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯเช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ

             1) แบบ 
Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room

             2) แบบ 
Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์WebBoard News-group เป็นต้น

             ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย 
(Frequently Asked Question : FAQ) ในเวปwww.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learningที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business

             เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไปOnline Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น

             การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคนเรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น